2.การพัฒนาโครงงานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
การพัฒนาโครงงานทางด้านเทคโนโลยีจำเป็นต้องใช้เเนวคิดเชิงคำนวณเพื่อเเก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างเป็นระบบเพื่อใหเโครงงานสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมาย การพัฒนาโครงงานใดๆ ทางด้ารเทคโนโลยีสารสนเทศมีขั้นตอนเบื้องต้น 6 ขั้นตอน ได้เเก่ กำหนดปัญหา วิเคราะห์ระบบ ออกเเบบระบบ
พัฒนาระบบ เเละทดสอบระบบ ติดตั้งระบบ และบำรุงรักษาระบบ
2.1 กำหนดปัญหา
กำหนดปัญหา วิเคราะห์ความเป็ฯไปได้เเละวางเเผน คือ ขั้นตอนที่ทีมผู้พัฒนาซอฟต์เเวร์ทำการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการพัฒนาซอฟต์เเวร์ว่าจะสามารถดำเนินการได้สำเร็จหรือไม่ภายใต้
ปัจจัยต่างๆ เช่น ระยะเวลาที่กำหนด งบประมานที่กำหนด จำนวนบุคคลกรในทีมงาน เป็นต้น ซึ่งหาก
วิเคราะห์เเล้วว่ามีความเป็นไปได้สูงที่จะดำเนินการพัฒนาซอฟต์เเวร์เป็นลำดับถัดไป รวมทั้งจัดทำ
เอกสารการวางเเผนการดำเนินงาน
1)ประชุมทีมงาน คือ การประชุมทีงงานผู้พัฒนา เพื่อกำหนดหน้าที่ให้เเก่ทีมงาน
กำหนดลักษณะการทำงาน ข้อตกลงการทำงานต่างๆ รวมถึงมาตรฐานการทำงาน เพื่อให้การปฏิบัติงาน
เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เเละควรจัดทำเอกสารบันทึกการประชุมให้ผู้เข้าร่วมประชุมลงลายมือชื่อรับทราบด้วยเช่นกัน
2)กำหนดเเผนงาน คือ ขั้นตอนการจัดทำแผนการดำเนินงานซึ่งถือว่าเป็นผลลัพธ์ของขั้นตอนการวิเคราะห์ความเป็นไปได้เเละการวางแผน
2.2 วิเคราะห์ระบบ
วิเคราะห์ระบบ คือ ขั้นตอนการทำความเข้าใจกับระบบงาน ทั้งระบบปัจจุบันเเละระบบงานที่จะพัฒนาขึ้นมาเเทนที่ หรือระบบงานที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ โดยการทำความเข้าใจระบบงานนั้นจำเป็นต้องเก็บรวบรวมข้อมูลปัญหา เเละความต้องการต่างๆเพื่อนำมาวิเคราะห์หาขอบเขตของระบบงานใหม่ ซึ่งขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบมีขั้นตอนย่อย ดังนี้
1)สัมภาษณ์ผู้ใช้งาน คือ ขั้นตอนที่ต้องลงพื้นที่สัมภาษณ์ผู้ใช้งานเพื่อเก็บข้อมูลต่างๆ
2)วิเคราะห์ปัญหาเเละความต้องการ คือ หลังจากสัมภาษณ์เพื่อเก็บข้อมูลเเล้วทีมผู้พัฒนาควรนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ข้อมูล
3) กำหนดขอบเขตของระบบ คือ การกำหนดขอบเขตการพัฒนาระบบงานใหม่โดยต้องกำหนดว่าจะดำเนินการทำอะไรบ้าง เเละมีข้อจำกัดอะไรบ้าง
4) วิเคราะห์กลุ่มกระบวนการทำงาน คือ ขั้นตอนการวิเคราะห์เพื่อหาการบวนการทำงานว่าประกอบด้วยกระบวนการทำงานย่อยอะไรบ้างที่จะถูกพัฒนาขึ้นมา
2.3 ออกเเบบระบบ
ออกเเบบระบบ คือ ขั้นตอนการกำหนดวิธีการเเก้ปัญหาต่างๆจากขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบ โดยขั้นตอนนี้จะกำหนดขั้นตอนการทำงานโดยใช้เเผนภาพเเสดงลำดับขั้นตอนการทำงานแผนภาพเเสดงความสัมพันธ์ของข้อมูล พจนานุกรมข้อมูล หน้าจอส่วนติดต่อกับผู้ใช้งานเทคโนโลยีต่างๆ ที่นำมาใช้ในกระบวนการเเก้ปัญหาต่างๆของระบบงาน
2.4 พัฒนาระบบ เเละทดสอบระบบ
พัฒนาระบบเเละทดสอบระบบ คือ ขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ เพื่อพัฒนาระบบโดยดำเนินงานตามการออกเเบบจากขั้นตอนการออกเเบบระบบ
2.5 ติดตั้งระบบ
ติดตั้งระบบ คือ ขั้นตอนการนำซอฟต์เเวร์เเละระบบงานใหม่ที่สมบูรณ์มาติดตั้งในสภาพเเวดล้อมการทำงานจริง จัดทำเอกสารการติดตั้งระบบงานใหม่เเละคู่มือการใช้งาน เพื่อหาจุดบกพร่องต่างๆ
2.6 บำรุงรักษาระบบ
บำรุงรักษาระบบ คือ ขั้นตอนการดูเเลระบบต่างๆ เช่น การเเก้ไขจุดบกพร่องที่เกิดขึ้นหลังจากการใช้งานในสภาพเเวดล้อมจริง
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1
วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2561
วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2561
เเนวคิดเชิงคำนวณ
1.เเนวคิดเชิงคำนวณ ( Computational Thinking )
ไม่ใช่การคิดเหมือนหุ่นยนต์หรือการเขียนโปรเเกรมโดยผู้เชี่ยวชาญ เเต่เป็นทักษะที่มุ่งเน้นการคิดเชิงตรรกะ คือ สามารถอธิบายการคิดเชิงคำนวณอย่างเป็นระบบ หรือเป็นการเเก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ได้มาซึ่งการเเก้ไขปัญหาที่ทั้งมนุษย์เเละคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจร่วมกันได้
ไม่ใช่การคิดเหมือนหุ่นยนต์หรือการเขียนโปรเเกรมโดยผู้เชี่ยวชาญ เเต่เป็นทักษะที่มุ่งเน้นการคิดเชิงตรรกะ คือ สามารถอธิบายการคิดเชิงคำนวณอย่างเป็นระบบ หรือเป็นการเเก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ได้มาซึ่งการเเก้ไขปัญหาที่ทั้งมนุษย์เเละคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจร่วมกันได้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)